sirinn
Imperial College London
แปลไทยโดย Gla Sinted
University of Warwick
Introduction: How to live without PASSION
Why are we suffering so much from PASSION?
Evolutionarily speaking (no geeky details, I promise), our brains are not hardwired to deal with passion (what we usually refer to as some burning desire to do something) life goals, and happiness. We are designed to thrive and survive, to chase after deer or boars, not to chase after something as abstract as passion. So, trust me, if you are struggling with the idea of finding and pursuing a passion, you are not alone in this matter.
So, where did we adopt this idea of PASSION from?
Our society has been bombarding us with this notion of having a single huge life goal to chase after. Have you ever been asked, “what do you want to be when you grow up?”. As a kid, I always got motivated by this question. I could think of so many things I wanted to do in life, whether to be a doctor to help people, to be an engineer to build houses, to be a programmer to create cool programmes and wear thick glasses. Each time, I came up with different answers to the same question and was always excited to share them.
As kids, things were hopeful, and the future was limitless. As we grow up, our choices are more restricted. Most of us only get to choose one major in the university and people suggest us to follow our PASSION. After we graduate, we are searching for a job and again, we were told to follow our PASSION. When we look up to people who are successful, despite their different backgrounds, they seem to share one thing in common, they followed their PASSION. This term, PASSION, is everywhere and people wear it as a badge of honour. But is it really a badge of honour? Is it really something we need to search for, to be happy and successful?

I would say NO. I believe that we can be happy and successful with or without PASSION.
PASSION usually refers to some traits that favour society. Since society loves innovations, inventions and discoveries, we usually describe people who enjoy doing those things as being PASSIONATE. This term usually connotes honour and pride. Hence, here it comes, peer pressure, forcing us to compare ourselves to others and start searching for PASSION. To me, this term is overrated and manipulative. It gives society the power to steer us to the direction they want. There are those people whose interests are in the intersection; hence they seem to have found their passion. What about those who enjoy doing something else? In fact, I don’t think we should
categorise people’s interests and selectively put the label PASSION on them. I strongly believe that no matter where our interests lie, whatever we enjoy doing, we can always offer something to society in our own unique way.
I hope this introduction helps relieve the pressure of passion hunting. Now, without that pressure, we might still face the dilemma of choosing between what you enjoy and what makes you a living as those two don’t always align. Also, without passion, what else could we follow to become successful? The answers can be found in the next two articles on How to be happy without passion and How to succeed without passion. Stay tuned! J
บทนำ: จะอยู่ยังไงโดยที่ไม่มี PASSION
ทำไมพวกเราถึงเจ็บปวดเหลือเกินกับคำว่า PASSION?
ถ้าพูดในเชิงวิวัฒนาการแล้ว (ไม่ได้จะพูดแบบเนิร์ด ๆ นะ บอกไว้ก่อน) สมองของเราเนี่ยไม่ได้ถูกใส่ข้อมูลมาสำหรับ passion เป้าหมายชีวิต และความสุขหรอก แต่เราถูกออกแบบเพื่อให้พยายามดิ้นรนและเอาชีวิตรอดต่างหาก ไปไล่ล่ากวางบ้าง ไล่หมีบ้าง ไม่ได้ให้ไปไล่ล่าตามหาสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่าง passion ซะหน่อย ดังนั้น ถ้าคุณกำลังติดกับอยู่กับคำว่า passion อยู่ คุณไม่ได้รู้สึกไปคนเดียว
อ้าว แล้วเราไปเอาความคิดเรื่อง PASSION นี้มาจากไหนกัน?
จริง ๆ สังคมเราเนี่ยก็กระหน่ำความคิดเกี่ยวกับเรื่องเป้าหมายในชีวิตชิ้นโต ๆ เสียเหลือเกินเพื่อให้เราออกไปวิ่งไล่ตาม คุณคงเคยโดนถามมาว่า “โตขึ้นอยากเป็นอะไรจ๊ะลูก?” ตอนเด็ก ๆ นี่พวกเราก็ตื่นเต้นนะเวลามีคนมาถามอะไรแบบนี้ เราสามารถคิดได้หลายอย่างเลยแหละว่าอยากจะทำอะไร เป็นหมอก็ได้ช่วยคนด้วยกัน เป็นวิศวกรก็ได้สร้างบ้าน เป็นโปรแกรมเมอร์ก็ทำโปรแกรมเจ๋ง ๆ ออกมาแล้วก็ใส่แว่นตาหนา ๆ อยู่หน้าคอม แต่ละครั้งที่มีคนมาถาม เราก็ตอบไม่เหมือนกันซักรอบ และก็ตื่นเต้นตลอด ๆ เวลาโดนถามอะไรแนว ๆ นี้
ตอนเป็นเด็กทุกอย่างมันมีเต็มไปด้วยความหวัง มองไปถึงอนาคตที่ไร้ขีดจำกัด พอเมื่อเราโตขึ้นเท่านั้นแหละ ตัวเลือกในชีวิตก็มีน้อยลงทุกที เราหลาย ๆ คนสามารถเลือกวิชาเอกได้แค่อันเดียวในมหาวิทยาลัย และคนก็จะบอกให้เราเลือกตามสิ่งที่เราชอบหรือ passion นั่นแหละพอเราเรียนจบ เราก็ต้องมานั่งหางาน หลายคนก็บอกเราอีกว่าทำตาม passion สิ เมื่อเรานึกถึงคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต สิ่งที่ดูจะมีเหมือนกันคือพวกเขามี passion ทั้ง ๆ พวกเขาเหล่านั้นอาจจะมีภูมิหลังที่แตกต่างกันก็ได้ คำว่า passion นี่มันอยู่ไปหมดทุกที่จริง ๆ และคนเราก็มีมันเหมือนเป็นโล่ประกาศเกียรติคุณ แล้วจริง ๆ มันเป็นโล่ประกาศเกียรติคุณไหมนะ? มันเป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องไปตามหาจริง ๆ หรอเพื่อที่จะได้มีชีวิตที่แฮปปี้ ๆ และประสบความสำเร็จไปด้วย?

สำหรับเรา คำตอบคือ ไม่ เราเชื่อว่าเราสามารถเป็นคนที่ทั้งใช้ชีวิตให้มีความสุขและประสบความสำเร็จโดยที่ไม่ต้องมี passion ก็ได้นะ
จริง ๆ passion มันก็เป็นสิ่งที่สังคมต้องการมากกว่า เพราะสังคมปัจจุบันของเราชอบเรื่องนวัตกรรม ประดิษฐกรรม และการค้นพบใหม่ ๆ พวกเราเลยไปนิยามคนเหล่านี้ว่าเป็นคนที่ passionate (ลุ่มหลงใน passion) คำนี้แหละที่บ่งบอกถึงเกียรติคุณและความภาคภูมิใจ นี่แหละ มันเลยกลายเป็นความกดดันจากคนรอบตัวที่คอยจะเปรียบเทียบเรากับคนอื่นอยู่เสมอและก็ต้องมานั่งเฟ้นหา passion ของตัวเอง สำหรับเราคำนี้มันถูกตีความให้เว่อร์เกินแถมยังดูบงการชีวิตเราด้วยซ้ำ และเป็นสิ่งที่คอยกล่อมให้เราไปในทางที่สังคมส่วนใหญ่ต้องการ เพียงเพราะคนกลุ่มหนึ่งที่มีคนความต้องการตรงกับสังคม เราจึงบอกว่าคนพวกนั้นเจอ passion ของตัวเองแล้ว
อ้าว…แล้วคนที่ชอบทำอย่างอื่นนอกเหนือจากนี้ล่ะ? จริง ๆ แล้วเราไม่ควรมานั่งจัดประเภทความชอบของแต่ละคน แล้วก็นั่ง “แปะป้าย” ว่านี่แหละเรียกว่า passion เราเชื่อมาก ๆ ว่าไม่ว่าพวกเราจะสนใจอะไร ชอบทำอะไร เราก็สามารถให้บางอย่างกับสังคมได้เหมือนกัน
เราหวังว่าบทนำตัวนี้จะช่วยให้ทุกคนคลายแรงกดดันจากการไล่ล่าตามหา passion แต่ถึงจะไม่มีความกดดัน เราก็อาจจะเจอภาวะกลืนไม่เข้าคลายไม่ออก ระหว่างเลือกสิ่งที่ enjoy หรือสิ่งที่สามารถชุบเลี้ยงชีวิตได้ แต่สองอย่างนั้นก็ดันไม่ได้ไปทางเดียวกันด้วยสิ แล้วถ้าไม่มีpassion ล่ะ เราจะทำยังไงให้ประสบความสำเร็จดีนะ มาหาคำตอบกันในอีก 2 บทความถัดไป คือ จะมีความสุขได้อย่างไรโดยไม่ต้องง้อ Passion หรือ ชีวิตก็สำเร็จได้โดยปราศจาก Passion รอติดตามกันนะคะ
ร่วมส่งบทความเป็นส่วนหนึ่งของสามัคคีสาร
คุณเองก็สามารถเผยแพร่บทความของตนเองในสามัคคีสารได้ ขอเพียงคุณมีใจรักการเขียน ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นโยบายการส่งบทความของสามัคคีสาร แล้วอย่าลืมส่งบทความกันเข้ามาเยอะๆ นะคะ